วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เกร็ดความรู้: ทราบได้อย่างไรว่ายางรถยนต์ใหม่หรือเก่า

ยางรถใหม่เก็บไว้นาน ๆ ก็เสื่อมสภาพได้ เมื่อเปลี่ยนยางเส้นใหม่ทุกครั้ง...คุณแน่ใจหรือไม่ว่าไม่ใช่
ยางเก่าเก็บ แล้วเราจะมีวิธีดูอย่างไร พร้อมข้อสงสัยว่าจริงหรือที่ว่าดอกยางเป็นตัวทำให้รถเกาะถนน
แล้วเมื่อไรที่เขาเรียกกันว่าดอกยางหมด...

รหัสบนแก้มยางที่คนส่วนใหญ่ไม่สนใจ หรือบางคนสนใจและพยายามจะทราบ แต่ไม่ค่อยมีใครอยากบอก
คือ วันที่ยางเส้นนั้นผลิต

เพราะผู้ขายหรือผู้ผลิต กลัวจะขายยางเก่าเก็บไม่ได้ แต่ผู้ผลิตก็ต้องระบุลงไป เพื่อไม่ให้ผิดกฏของหน่วย
งานคุ้มครองผู้บริโภค เพียงแต่ถ้าไม่ถามก็จะไม่บอก

ยางรถยนต์สามารถหมดสภาพได้ แม้เป็นยางใหม่ที่เก็บไว้เฉยๆ ก็เริ่มเสื่อมสภาพลงตั้งแต่ผลิตเสร็จ แล้ว
ลดอายุการใช้งานลงเรื่อยๆ เมื่อเก็บไว้หลายปี

แม้การเก็บยางอย่างถูกวิธีจะชะลอการหมดอายุลงได้ และไม่หมดอายุเร็วเท่ากับการใช้งานบนถนนจริง
แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการซื้อยางเก่าเก็บ ซึ่งผู้ผลิตหลายรายบอกว่า 2-3 ปีก็ยังใช้ได้ แต่ในแง่ของผู้บริโภค
แล้ว ยิ่งใหม่เท่าไรก็ยิ่งดี

ถ้าเป็นยางนำเข้าหรือยางผลิตในประเทศ ที่มีทั้งการจำหน่ายในประเทศและการส่งออก จะมีตัวเลข
3-4 หลักอยู่ในวงรี บอกสัปดาห์และเลขตัวท้ายๆ ของปี ค.ศ. ที่ผลิตยางเส้นนั้นไว้แบบลบไม่ได้ เพราะ
เป็นเนื้อยางที่อยู่บนแก้มยาง หล่อออกมาจากแม่พิมพ์เลย และเป็นมาตรฐานเดียวกันที่ใช้ทั่วโลก

ตัวเลขนั้นอยู่ในวงรีแนวโค้งเดียวกับแก้มยาง อาจอยู่ใกล้กับตัวอักษร DOT และอาจมีเพียงข้างเดียวใน
ยาง 1 เส้น ยางรถยนต์ที่ผลิตก่อนปี 2000 จะเป็นเลข 3 หลัก เช่น 449 หรือ 328 โดยเลข 2 ตัว
แรกบอกสัปดาห์ที่ผลิต และตัวเลขท้ายสุด คือ ตัวเลขสุดท้ายของปี ค.ศ. ที่ผลิต เช่น 127 ก็เป็นยางที่
ผลิตสัปดาห์ที่ 12 ของปี 1997

พอมาถึงปี 2000 และตั้งแต่ปัจจุบันนี้เป็นต้นไป มีการเปลี่ยนมาเป็นเลข 4 หลัก เพื่อป้องกันความสับสน
กับยางที่ผลิตก่อนปี 2000 และค้างสต็อกอยู่

ตัวอย่าง 1300, 3500, 4100 เลข 2 ตัวแรกบอกสัปดาห์ที่ผลิต และ 2 ตัวท้าย คือ เลข 2 ตัวสุด
ท้ายของปี ค.ศ. ที่ผลิต เช่น 3600 เป็นยางที่ผลิตสัปดาห์ที่ 36 ของปี 2000

ส่วนยางบางยี่ห้อที่ผลิตจำหน่ายเฉพาะในประเทศไทย เช่น บริดจสโตนบางรุ่น ในเนื้อยางบริเวณแก้มก็มี
รหัสระบุถึงวันที่ผลิต แต่ไม่เหมือนกับข้างต้น เพราะเป็นรหัสเฉพาะ เช่น L0Y3A ต้องเปิดตารางเทียบ
ซึ่งผู้ผลิตไม่เปิดเผย

ในเมื่อผู้ซื้ออ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็เลยมีการทดแทนด้วยการปั๊มหมึกสีอ่อนไว้บนแก้มยาง เป็นรูปวงกลมขนาด
เล็กแบ่งครึ่งบนล่าง ครึ่งบนบอกเดือน และปี พ.ศ. เช่น 11 43 ส่วนครึ่งล่างไม่ต้องสนใจ เพราะเป็น
ตัวเลขรหัสประจำตัวของผู้ตรวจยางเส้นนั้น บางร้านพอยางเก่าเก็บ ก็จะลบหมึกวงกลมนี้ออก เพื่อไม่ให้
ทราบวันผลิตจริง ถ้าเจออย่างนั้น ควรหลีกเลี่ยง

ถ้าเป็นยางนำเข้า หากยังไม่แกะออกจากห่อ ที่ตัวห่อหรือสติกเกอร์ที่ติดไว้ อาจมีรายละเอียดวันที--่ผลิต
ระบุไว้ด้วย ถ้าหาที่แก้มยางไม่เจอ ให้ลองหาที่ตัวห่อก็อาจเจอ

ด อ ก ย า ง ไ ม่ ไ ด้ มี ไ ว้ ใ ห้ เ ก า ะ แ ต่ มี ไ ว้ รี ด น้ำ

ยังมีความเข้าใจผิดและพูดกันผิดๆ ต่อเนื่องกันในวงกว้าง ว่าดอกยางหรือยางที่มีร่องๆ เป็นลวดลาย มี
ไว้ให้ยางเกาะถนน หรือถ้ายางดอกหมดแล้วจะลื่น ซึ่งตามหลักการจริงนั้น ผิด !

ตามความหมายของคนทั่วไป ยางที่ยังมีร่องอยู่บนหน้ายาง หมายถึง ยางมีดอก แต่ถ้าหน้ายางเรียบ ไม่มี
ร่องบนหน้ายาง ทั้งจากการสึกหรอหรือยางสำหรับรถแข่งทางเรียบ หมายถึง ยางดอกหมด ยางหัวโล้น
ยางโล้น หรือยางไม่มีดอก

จริงๆ แล้วตัวแท่งๆ บนหน้ายาง เรียกว่า 'ดอกยาง'ส่วนช่องว่างระหว่างดอกเรียกว่า 'ร่องยาง'

ประเด็นสำคัญที่บอกว่าคนส่วนใหญ่เข้าใจผิด คือ การคิดว่ายางโล้น ยางไม่มีดอก ไม่เกาะถนน เพราะ
การยึดเกาะของยางกับถนนเกิดจากหน้ายางที่กดแนบลงกับพื้น ยิ่งมีหน้าสัมผัสมาก ก็ยิ่งเกาะมากขึ้น ร่อง
ยางซึ่งแทรกอยู่ระหว่างดอกยาง ก็มีแค่อากาศ ไม่ได้มีเนื้อยางกดลงบนพื้นแต่อย่างไร

ดังนั้นถ้าหน้ายางมีความกว้างเท่ากัน ยางไม่มีดอก ไม่มีร่อง หรือยางหัวโล้น ย่อมมีพื้นที่สัมผัสถนนมากก
ว่ายางที่มีร่องระหว่างดอกยาง

แล้วทำไมยางรถยนต์ทั่วไป จึงมีดอกหรือมีร่อง ทั้งที่ผลิตยากกว่าแบบเรียบ และต้องเสียหน้าสัมผัสกับ
พื้นถนนตรงช่วงที่เป็นร่องไป ?

เพราะยางหน้าเรียบเกาะถนนดีบนถนนเรียบแห้งเท่านั้น แต่ถ้าถนนเปียกจะลื่นมาก เพราะหน้ายางที่แบน
กว้าง จะไม่สามารถกดรีดน้ำออกจากหน้ายาง เพื่อให้หน้ายางสัมผัสกับพื้นตามปกติได้ น้ำเลยกลายเป็น
ชั้นฟิล์มคั่นอยู่ระหว่างยางกับผิวถนน ก็เลยลื่นหรือมีอาการเหิรน้ำ

หน้ายางที่กว้างประมาณสิบเซ็นติเมตรขึ้นไป เมื่อกดลงบนพื้นถนนที่เปียกน้ำ ย่อมไม่สามารถรีดน้ำออกจาก
หน้าสัมผัสได้ เสมือนเอาฝ่ามือที่นิ้วมือชิดกัน กดแรงๆ ลงบนพื้นที่เปียกน้ำ

การแบ่งหน้าสัมผัสออกเป็นบล็อกเป็นดอกด้วยร่องยาง ทำให้การกดรีดน้ำออกจากหน้ายางทำได้ดีขึ้น
เพราะเท่ากับเป็นการรีดน้ำออกจากพื้นที่ย่อยๆ ที่แคบลง และมีร่องลึกอยู่รายรอบ เพื่อให้น้ำที่ถูกรีดแทรก
ตัวเข้าไปได้ และถ้าร่องต่อกันก็จะช่วยให้สลัดน้ำออกด้านข้างได้ดีขึ้นไปอีก เปรียบเทียบได้กับการกางนิ้ว
มือออก แล้วกดมือลงบนพื้นเปียกนั่นเอง ดอกหรือร่องยางจึงลดอาการลื่นของยาง เมื่อต้องขับรถยนต์ลุย
ฝนหรือบนถนนลื่น โดยต้องยอมเสียหน้าสัมผัสพื้นถนนบางส่วนให้เป็นร่องยางแทน

ดังนั้นการบอกลอยๆ ว่า ยางดอกหมด ยางหัวโล้น แล้วจะลื่นนั้น ผิด

เพราะที่ถูกต้อง น่าจะบอกว่า ยางดอกหมด ยางหัวโล้น จะลื่นบนถนนเปียก ส่วนบนถนนแห้งสนิทนั้น
เกาะถนนดีกว่ายางมีดอก (ทั้งยางรถแข่งและรถยนต์ทั่วไป)

แล้วทำไมเมื่อดอกหมดแล้วต้องรีบเปลี่ยนยางชุดใหม่ ทั้งที่ไม่ใช่หน้าฝน ?

เพราะรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไป ผู้ขับคงไม่ทราบล่วงหน้าว่าจะเจอถนนเปียกเมื่อไร ขับไปแล้วอาจเจอโดย
ไม่ได้ตั้งตัว เพราะไม่มีทีท่าว่าฝนจะตก หรือพื้นถนนเปียกจากน้ำรดต้นไม้

ถ้ายางไม่มีร่อง หรือมีแต่ไม่ลึกพอให้น้ำเข้าไปแทรกอยู่ได้ ก็จะลื่นไถลได้ง่ายมาก ส่วนรถแข่งทางเรียบ
นั้น ถ้าฝนตกหรือผิวสนามลื่น ก็มักรู้ตัวก่อนและค่อยๆ ประคองรถเข้าพิต เพื่อเปลี่ยนเป็นยางมีดอก แล้ว
ออกไปแข่งต่อ

ปัจจุบันมีผู้ผลิตยางบางราย เริ่มผลิตยางรุ่นที่เน้นสำหรับการขับหรือแข่งบนทางเรียบแบบสมัครเล่น โดย
ออกแบบให้มีหน้าสัมผัสกับถนนมากๆ เป็นหลัก คือ มีร่อง แต่น้อยและแคบ และอยู่ห่างกันมาก เพื่อให้
สามารถขับบนถนนเปียกได้บ้าง ไม่ถึงกับลื่นไถล แต่ก็ไม่สามารถรีดน้ำได้ดีเท่ากับยางทั่วไปที่มีร่องรีดน้ำม
ากกว่า

เ มื่ อ ไ ร ด อ ก ย า ง ห ม ด

เมื่อดอกยางจุดที่เตี้ยที่สุด มีร่องลึกน้อยกว่า 1.5-2 มิลลิเมตร ซึ่งตัวเลข 1.5-2 มิลลิเมตรนี้ รวบรวม
มาจากคำแนะนำของผู้ผลิตยางหลายยี่ห้อ จึงไม่สามารถสรุปเป็นตัวเลขตายตัวได้เป๊ะๆ

ในความเป็นจริง ก็ไม่ค่อยมีใครหยิบไม้บรรทัดมาวัดหรือหาอะไรมาแหย่เพื่อวัดความลึกของร่องยาง
เพราะไม่สะดวก และจริงๆ แล้วก็ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการวัด ดังนั้นส่วนใหญ่จึงดูด้วยสายตา และ
ประเมินเอาว่าดอกยางหมดหรือยัง

ในขั้นตอนการออกแบบและผลิต ผู้ผลิตยางได้อำนวยความสะดวกในการดูว่ายางดอกหมด หรือร่องตื้นเกิน
กว่าที่จะใช้งานบนถนนได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือวัด

โดยในร่องยางบางจุดจะนูนขึ้นจากปกติประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร แต่มิได้นูนขึ้นมาจนเท่ากับหน้ายางตอ
นที่ยังใหม่ๆ สมมุติตอนใหม่ๆ ร่องลึก 8 มิลลิเมตรเท่ากันตลอด ก็จะมีในบางจุดที่ร่องลึกแค่ 6-6.5
มิลลิเมตร เสมือนมีเนินเตี้ยๆ อยู่ก้นหลุม ซึ่งเมื่อดอกยางสึกมากเข้า ก็จะเรียบเท่ากับยอดเนินเตี้ยๆ ที่
ก้นหลุมนั้น

เป็นการบอกว่าดอกยางเตี้ยเกินไป หรือร่องโดยรวมตื้นเกินไปแล้ว หรือดูง่ายๆ สำหรับดอกยางที่มีลวด
ลายของร่องเป็นแนวตรงโดยรอบ ปกติแล้วร่องจะต่อกันตลอดแนว แต่พอดอกยางสึกลงไปจนบางส่วนเท่า
กับเนินนั้น จนทำให้ร่องยางไม่ต่อกัน แสดงว่ายางเหลือร่องรีดน้ำเตี้ยเกินไปแล้ว

การหาว่าจุดไหนของร่องยาง มีเนินเตี้ยๆ อยู่กันหลุมหรือที่ฐานของร่อง ไม่ต้องเดาหรือเสียเวลานาน
เพราะมีจุดสังเกตได้จากขอบของแก้มยางบริเวณใกล้ๆ กับขอบริมของหน้ายาง จะมีตัวอักษร TWI หรือ
สัญลักษณ์รูป 3 เหลี่ยมขนาดเล็ก ชี้เข้าหาหน้ายาง

โดยปกติแล้วจะมี 6 จุดในแก้มยางแต่ละด้าน แบ่งห่างเท่าๆ กัน ในมุม 60 องศาของวงกลม แต่ในยาง
บางยี่ห้ออาจห่างไม่เท่ากัน หรือไม่ได้มี 6 จุด แต่ก็มีหลายจุดในแต่ละด้าน ยางในบางยี่ห้ออย่างมิชลิน ก็
ใช้สัญลักษณ์ตัวบีเบนดั้มขนาดเล็ก เป็นจุดสังเกตแทนรูป 3 เหลี่ยม

สัญลักษณ์เหล่านี้ ไม่ได้มีไว้บอกการสึก หรือดูว่าเมื่อไรสัญลักษณ์นี้ลบแล้วแสดงว่ายางสึกแต่อย่างไร
เพราะอยู่บริเวณแก้มยางซึ่งไม่สัมผัสพื้นจึงไม่สึก (แต่ถ้าเข้าโค้งแรงๆ จนขอบของแก้มยางเอนแนบลงกับ
พื้นถนน สัญลักษณ์ก็อาจสึกได้) เมื่อเจอสัญลักษณ์ข้างต้นที่ริมนอกของแก้มยางแล้ว ก็ให้มองในแนวเดียวกัน
ไล่ขึ้นไปที่หน้ายาง และมองลึกลงไปที่ร่องยาง ก็จะพบกับเนินเตี้ยๆ ที่ร่องยาง เมื่อไรที่ดอกสึกไปถึงยอด
เนินนั้น แสดงว่าดอกหมดหรือร่องตื้นและไม่ควรใช้ต่อ (ไม่ใช่ต้องสึกจนหมดเนินหรือหมดร่อง)

สาเหตุที่ผู้ผลิตแนะนำให้ใช้จนเหลือแค่ร่องตื้นๆ ไม่ใช่หมดร่อง ทั้งที่ดูแล้วร่องนั้นน่าจะยังพอช่วยในการรีด
น้ำได้
เพราะจริงๆ แล้ว ร่องตื้นๆ นั้น มีช่องว่างให้น้ำที่ถูกรีดไล่ออกจากหน้ายางแทรกตัวอยู่ได้น้อยมาก ส่งผล
ให้หน้ายางไม่สามารถรีดน้ำได้อย่างต่อเนื่อง

เรื่องความสูงของเนินขนาดเล็กในร่องยาง ว่าแต่ละยี่ห้อสูงเท่าไร ? พบว่าในแต่ละยี่ห้ออาจไม่เท่ากัน
แต่อยู่ในช่วงที่ใกล้เคียงกัน คือ 1.5-2 มิลลิเมตร ซึ่งผู้ใช้ก็ไม่ต้องดิ้นรนหาตัวเลขนั้นว่าเป็นเท่าไร

เอาเป็นว่าผู้ผลิตได้ทดสอบหาความเหมาะสมมาแล้วว่า ยางรุ่นนั้น ควรเหลือดอกยางสูงไม่ต่ำกว่าเท่าไร
แล้วยังใช้งานได้ดี และออกแบบทำเนินให้สูงตามนั้น ผู้ใช้ก็แค่ใช้จนดอกสึกลงไปเท่ากับยอดเนินก็ควรเปลี่
ยนยางชุดใหม่ อย่างไรก็ตาม ยางรถยนต์ก็สามารถหมดอายุได้แม้ดอกยังไม่หมด เช่น ยางเก่าเก็บ รถ
ยนต์ใช้งานไม่มาก จอดมากกว่าขับ ทำให้หน้ายางไม่ค่อยสึก แต่ยางก็หมดอายุได้ จากการหมดสภาพทั้ง
ของโครงสร้างภายใน และความแข็งของเนื้อยาง เพราะโดยพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ยางทุกประเภท จะ
แข็งตัวขึ้นเรื่อยๆ ตามความร้อนและเวลาที่ผ่านไป เนื้อยางที่แข็ง ย่อมมีแรงเสียดทานน้อยลงหรือลื่นขึ้นนั่
นเอง

โดยเฉลี่ยแล้ว แม้ดอกยางยังไม่หมด ก็ไม่ควรใช้งานเกิน 3 ปี ถ้าจะใช้เกิน ควรพิจารณาความแข็ง
การแตกลายงา หรือการแตกปริของเนื้อยางอย่างละเอียด

ผู้ผลิตรถยนต์คันแรก

คาร์ล เบนซ์ เป็นผู้ให้กำเนิดรถยนตร์คันแรกของโลก
          คาร์ล เบนซ์ พัฒนารถยนต์ 3 ล้อ ซึ่งต่อมาได้รับการรับรองว่าเป็น "รถยนต์" ที่แท้จริงคันแรกปรากฏต่อสาธารณชน จากประสบการณ์และความชื่นชอบในจักรยาน เขาใช้เทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันกับการสร้างจักรยานเพื่อสร้างรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ 4 จังหวะที่ออกแบบให้อยู่ระหว่างล้อหลังทั้งสองล้อ
          โดยเขาได้ทดลองใช้กับรถสามล้อนับเป็นรถยนตร์ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายในคันแรกของโลก รถ 3 ล้อ ของเบนซ์ เป็นรถยนตร์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงเพื่อขับเคลื่อนเครื่องยนต์ เขาสร้างเจ้าสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้เสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 1885 และเรียกมันว่า “Benz Patent Motorwagen” ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า “รถยนตร์” อย่างแท้จริง ดังนั้น จึงมีหลายคนถือว่า คาร์ล เบนซ์ เป็นผู้คิดค้นรถยนตร์ได้เป็นผลสำเร็จ และรถยนตร์คันแรกของโลกซึ่งมี 3 ล้อ
                           

รถฟอร์ดคันแรกสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.ใด

ฟอร์ดเป็นรถยนต์นั่งที่มีชื่อเสียงเป็นที่ รู้จักทั่วโลกยี่ห้อหนึ่ง

และเป็นหนึ่งในบรรดารถยนต์เพียงไม่กี่ยี่ห้อที่มีประวัติความเป็นยาวนาน เกือบหนึ่งศตวรรษ

ชื่อ ฟอร์ด ( FORD ) ซึ่งเป็นยี่ห้อของรถ ได้มาจากชื่อสกุลของนายเฮรี่ ฟอร์ด ( HENRY FORD )

อัจฉริยะบุคคลนักประดิษฐ์ ผู้ก่อตั้งกิจการรถยนต์ ฟอร์ด ขึ้นในสหรัฐอเมริกาเมื่อเกือบศตวรรษที่ผ่านมานั่นเอง

สัญญาลักษณ์รถยนต์ฟอร์ดที่ใช้กันทั่วโลก เป็นรูปวงกลมสีน้ำเงินมีเส้นขอบสีขาว

และตรงกลางเป็นตัวอักษร ฟอร์ดเป็นรถยนต์นั่งที่มีชื่อเสียงเป็นที่ รู้จักทั่วโลกยี่ห้อหนึ่ง และเป็นหนึ่งในบรรดารถยนต์เพียงไม่กี่ยี่ห้อที่มีประวัติความเป็นยาวนาน เกือบหนึ่งศตวรรษ ชื่อ ฟอร์ด ( FORD ) ซึ่งเป็นยี่ห้อของรถ ได้มาจากชื่อสกุลของนายเฮรี่ ฟอร์ด ( HENRY FORD ) อัจฉริยะบุคคลนักประดิษฐ์ ผู้ก่อตั้งกิจการรถยนต์ ฟอร์ด ขึ้นในสหรัฐอเมริกาเมื่อเกือบศตวรรษที่ผ่านมานั่นเอง สัญญาลักษณ์รถยนต์ฟอร์ดที่ใช้กันทั่วโลก เป็นรูปวงกลมสีน้ำเงินมีเส้นขอบสีขาว และตรงกลางเป็นตัวอักษร FORD สีขาว ฟอร์ด เริ่มกิจการในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1903 หลังจากนั้นจึงขยายตัวออกสู้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ปัจจุบันมีสาขาต่างประเทศที่ทรงความสำคัญที่สุดคือ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ลิมิเทด ( FORD MOTOR CO.,LTD. ) แห่งประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกย่อๆว่า “ ฟอร์ดอังกฤษ “ ในสมัยที่ฟอร์ดยังไม่มีสาขาในยุโรป ฟอร์ดส่งรถที่ผลิตในอเมริกาเข้าไปจำหน่ายในยุโรป โดยมอบหมายให้นาย เพอร์ชิวาล เพอร์รี ( PERCIVAL PERRY ) นักธุรกิจชาวอังกฤษเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวจนกระทั่งปี 1911 จึงมีการก่อตั้ง ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ลิมิเทด ขึ้นในอังกฤษ สีขาว ฟอร์ด เริ่มกิจการในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1903

หลังจากนั้นจึงขยายตัวออกสู้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ปัจจุบันมีสาขาต่างประเทศที่ทรงความสำคัญที่สุดคือ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ลิมิเทด ( FORD MOTOR

CO.,LTD. ) แห่งประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกย่อๆว่า “ ฟอร์ดอังกฤษ “ ในสมัยที่ฟอร์ดยังไม่มีสาขาในยุโรป

ฟอร์ดส่งรถที่ผลิตในอเมริกาเข้าไปจำหน่ายในยุโรป

โดยมอบหมายให้นาย เพอร์ชิวาล เพอร์รี ( PERCIVAL PERRY ) นักธุรกิจชาวอังกฤษเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่

เพียงผู้เดียวจนกระทั่งปี 1911

จึงมีการก่อตั้ง ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ลิมิเทด ขึ้นในอังกฤษ

ส่วนประกอบรถยนต์มีอะไรบ้าง

1.ลูกสูบ (Piston)
ลูกสูบ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานของระบบเครื่องยนต์ ลูกสูบของระบบเครื่องยนต์ แต่ละยี่ห้อ ทำจากโลหะผสมที่ให้ความเหนียว นำหนักเบา ทนทานต่อการเคลื่อนที่เสียดสีกับผนังกระบอกสูบ การเคลื่อนที่ของลูกสูบแต่ละครั้ง เกิดจาก การทำงานร่วมประสานกัน ของก้านสูบ (Piston rod) เพลาข้อเหวี่ยง (Crank shaft) และการจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ ตลอดจนกลไก การเปิด-ปิด วาล์ว (Valve) ไอดี-ไอเสีย อย่างเป็นจังหวะ
ขนาดกระบอกสูบ และระยะชัก
ขนาดกระบอกสูบ (Bore) คือความยาวของเส้นผ่าศูนย์กลาง ของกระบอกสูบ มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร ส่วนระยะชัก (Stroke) คือระยะห่างระหว่างการเคลื่อนที่ของลูกสูบ จากตำแหน่งศูนย์ตายบน (Top Dead Center = TDC) ถึงตำแหน่ง ศูนย์ตายล่าง (Bottom Dead Center = BCD) มีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรเช่นกัน หากสังเกต ตามโบรชัวร์ สเป็ครถยนต์ระบุขนาดกระบอกสูบ x ระยะชัก (ช่วงชัก) เป็น 83x88 mm หมายความว่า เครื่องยนต์ดังกล่าว ใช้ลูกสูบ เส้นผ่าศูนย์กลาง 83 มิลลิเมตร และมีระยะชัก 88 มิลิเมตร

ปริมาตรกระบอกสูบ (Piston Displacement)
ปริมาตรกระบอกสูบของเครื่องยนต์ แต่ละระบบ ได้มาจากปริมาตรที่เกิดจากการเคลื่อนที่ ของลูกสูบจากตำแหน่ง BCD ถึงตำแหน่ง TDC ของแต่ละกระบอกสูบมารวมกัน ปริมาตรดังกล่าว วัดกันเป็น ลูกบาศก์เซนติเมตร (Cubic Centimeters หรือ CC) มีค่าเท่ากับ cm3 แต่วงการรถยนต์ นิยมเรียกกันว่า cc เช่น เครื่องยนต์ขนาด 1,600 cc , 1,800 cc , 2,000 cc , 2,500 cc เป็นต้น หรืออาจเรียกหน่วยปริมาตรนี้ เป็นหน่วยลิตร ก็ได้เพราะ 1,000 cc = 1 ลิตร เช่น เครื่องยนต์ 1,600 cc คือ 1.6 ลิตร , เครื่องยนต์ 2,000 cc คือ 2.0 ลิตร เป็นต้น
อัตราส่วนกำลังอัด (Compression ratio)
คือปริมาณ ไอดี ที่ลูกสูบ เคลื่อนตัวจากตำแหน่ง BDC ขึ้นไปสู่ตำแหน่ง TDC ในจังหวะอัด (Compression stroke) โดยคำนวณจากปริมาตรอากาศในกระบอกสูบ ณ ขณะที่ลูกสูบอยู่ในตำแหน่ง BDC และหารด้วยปริมาตรอากาศ ในกระบอกสูบ เมื่อลูกสูบอยู่ในตำแหน่ง TDC เช่น ปริมาตรกระบอกสูบ (ต่อ 1 สูบ) คือ 480 cc และปริมาตรอากาศ ในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนตัวขึ้นสู่ตำแหน่ง TDC คือ 52 cc ดังนั้น อัตราส่วน กำลังอัด = 480/52 = 9.23

2.ก้านสูบ (Connecting rod)
ก้านสูบ เป็นตัวส่งต่อกำลังจากลูกสูบ (Piston) ไปถ่ายเทให้กับเพลาข้อเหวี่ยง โดยที่ปลายข้างหนึ่ง จะยึดกับ สลักลูกสูบ และปลายอีกข้างหนึ่ง ยึดกับเพลาข้อเหวี่ยง (Crank shaft)


3. เพลาข้อเหวี่ยง (Crank shaft)
เพลาข้อเหวี่ยง ทำหน้าที่รับแรงกระทำที่ส่งมาจากก้านสูบ (Connecting rod) โดยเปลี่ยนจากแรงกำลังแนวขึ้น-ลง ของลูกสูบ มาเป็น แรงกำลังในแนวหมุน เพลาข้อเหวี่ยง มีแกนข้างหนึ่งโพล่ออกไปนอกเสื้อสูบ เพื่อยึดติดกับล้อช่วยแรง (Fly wheel) ส่วนแกนอีกข้างหนึ่ง ก็โผล่ออกไปนอกเสื้อสูบเช่นกัน เพื่อยึดติดกับพลูเล่ย์เพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft pulley)

4. พลูเล่ย์เพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft Pulley)
พลูเล่ย์เพลาข้อเหวี่ยง จะติดตั้ง เกาะติดกับแกนเพลาข้อเหวี่ยง (Crank shaft) ซึ่งอยู่ด้านนอกของห้องเครื่อง และอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับล้อช่วยแรง (Fly wheel) เมื่อเพลาข้อเหวี่ยงหมุน ตัวพลูเล่ย์ก็จะหมุนไปด้วย ที่ร่องของพูลเล่ย์ จะคล้องกับสายพาน เพื่อส่งแรงหมุนนี้ ไปให้กับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ปั้มพ์น้ำ (Water pump) เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Alternator) พัดลมหม้อน้ำ (Fan) คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ปัมพ์พวงมาลัยเพาเวอร์ (Power steering pump) เป็นต้น

5. ล้อช่วยแรง (Fly wheel)
ล้อช่วยแรง ติดตั้งเกาะอยู่กับแกนข้างหนึ่งของเพลาข้อเหวี่ยง (Crank shaft) ซึ่งอยู่ด้านนอกของห้องเครื่อง เนื่องจาก ล้อช่วยแรง ทำจากโลหะขนาดใหญ่ และหนักพอควร เพื่อช่วยให้การหมุน ของเพลาข้อเหวี่ยง มีความ สมดุลมากขึ้น ส่วนขอบรอบๆ ล้อช่วยแรง ก็จะมีลักษณะเป็นฟันเฟือง เพื่อรับการขบหมุนจาก มอเตอร์สตาร์ท (Starter motor) หรือที่เราเรียกกันว่าไดสตาร์ทนั่นเอง บริเวณด้านหน้าของล้อช่วยแรงนี้เอง จะเป็นจุดเชื่อมต่อของระบบส่งกำลัง (Power train) ซึ่งประกอบด้วยชุดคลัทช์ (Clutch) เพื่อที่จะส่งกำลังต่อเนื่องออกไปให้กับ ชุดเกียร์ (Transmission)
6. วาล์ว (Valve)
วาล์ว มีลักษณะเป็นโลหะ ยาวพอประมาณ ก้านวาล์วกลมทรงกระบอก สวมสอดอยู่ภายในรูปลอกนำวาล์ว (ปลอกนำวาล์ว จะเป็นรูที่เจาะจากด้านบนฝาสูบ ไปจนถึงด้านบนของห้องเผาไหม้) ปลายด้านหนึ่งของวาล์ว จะยึดติดกับกระเดื่องวาล์ว (Rocker arm) หรือถ้าเป็นระบบ Over Head Cam ส่วนใหญ่จะไม่มีกระเดื่องวาล์ว ซึ่งวาล์วจะถูกควบคุมการเปิด-ปิด จากเพลาลูก (Camshaft) เบี้ยวโดยตรง
ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งของวาล์ว มีลักษณะเป็นหน้าแป้นวงกลม ที่บริเวณรอบของหน้าแป้นนี้ จะเป็นจุดสำผัสกับ ฝาสูบ (Cylinder head) ด้านบนห้องเผาไหม้ ที่เรียกกันว่า "บ่าวาล์ว" เมื่อวาล์วเปิดออกอากาศ จะไหลผ่าน เข้าหรือออก จากห้องเผาไหม้ได้ เมื่อวาล์วปิด หน้าวาล์วก็จะคืนกลับ (ด้วยการกระทำของสปริงวาล์ว) ไปประกบกับบ่าวาล์ว เป็นลักษณะเช่นนี้ไปตลอดการทำงาน และโดยทั่วไปแล้ว วาล์วไอดี จะมีขนาดใหญ่กว่าวาล์วไอเสีย เพื่อที่จะรองรับอากาศไหลเข้าได้มาก

7. เพลาลูกเบี้ยว (Camshaft)
เพลาลูกเบี้ยว เป็นเพลาหมุน ที่ถูกสร้างให้บริเวณ แกนเพลามีชิ้นโลหะยื่นออกมาในรูปทรงของ "รูปไข่" โลหะที่ยื่นออกมาจากแกนเพลาที่เป็นรูปไข่นี้เอง เรียกว่า "ลูกเบี้ยว" เมื่อเวลาแกนเพลาหมุน ลูกเบี้ยวก็จะหมุนตาม


หน้าที่ของเพลาลูกเบี้ยว
เพลาลูกเบี้ยว ทำหน้าที่ควบคุมการเปิดวาล์วไอดี (ปิดวาล์วไอเสีย) เพื่อให้ไอดีไหลเข้ามาสู่ห้องเผาไหม้ และเปิดวาล์วไอเสีย (ปิดวาล์วไอดี) เพื่อให้ไอเสียไหลออกไป สรุปคือ เมื่อเพลาลูกเบี้ยวหมุนเมื่อใด ก็จะต้องมี การเปิด-ปิดของวาล์ว (Valve) เกิดขึ้นเมื่อนั้น
เพลาลูกเบี้ยวติดตั้งอยู่ที่ไหน ?
เครื่องยนต์รุ่นเก่าหน่อย จะมีเพลาลูกเบี้ยว เป็นแกนอยู่ภายในห้องเสื้อสูบ (ห้องเครื่อง) ซึ่งได้รับแรงหมุนมาจาก เพลาข้อเหวี่ยงอีกที เครื่องยนต์ที่มีเพลาลูกเบี้ยวติดตั้งอยู่ในห้องเครื่องนี้ เวลาเพลาลูกเบี้ยวหมุน ก็จะไปดันเอาลูกกระทุ้ง (Cam follower) ให้ไปดันเอาก้านกระทุ้ง (Push rod) ซึ่งแกนอีกด้านหนึ่งของก้านกระทุ้ง ก็จะไปดันกระเดื่องวาล์ว (Rocker arm) ให้ไปกดวาล์วให้เปิดออก เมื่อวาล์วเปิดออก ก็จะส่งผลให้ มีการถ่ายเทอากาศ ในห้องเผาไหม้ (วาล์วที่ติดตั้งอยู่เหนือห้องเผาไหม้เรียกว่า Over Head Valve หรือ OHV) ส่วนเครื่องยนต์ที่มีการติดตั้งเพลาลูกเบี้ยวอยู่ด้านบนของฝาสูบ เรียกว่า Over Head Camshaft หรือ OHC การทำงานในลักษณะนี้ จะไม่ใช้ก้านกระทุ้งในการส่งต่อกำลัง เพราะเพลาลูกเบี้ยว จะควบคุมการ เปิด-ปิดวาล์วด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นการควบคุมการทำงานโดยตรง และลดชิ้นส่วนอุปกรณ์ให้น้อยลงด้วย เครื่องยนต์ OHC ส่วนใหญ่จะใช้ลูกเบี้ยว ในการควบคุมการเปิด-ปิดวาล์วโดยตรง แต่ก็อาจมีเครื่องยนต์บางรุ่น ที่ใช้กระเดื่องวาล์ว ในการทำงาน
เครื่องยนต์ใดใช้เพลาลูกเบี้ยวแกนเดียว ติดตั้งอยู่เหนือฝาสูบ ในการควบคุมการเปิด-ปิด การทำงานของวาล์ว เรียกเครื่องยนต์นั้นว่า มีการทำงานแบบ Single Over Head Camshaft หรือ SOHC ต่อมามีการออกแบบ ให้มีเพลาลูกเบี้ยวอยู่ 2 แกน ติดตั้งอยู่คู่ขนานกัน แกนหนึ่ง ควบคุมการเปิด-ปิดไอดีโดยเฉพาะ ส่วนอีกแกนหนึ่ง ควบคุมการเปิด-ปิด ไอเสียโดยเฉพาะเช่นกัน เรียกเครื่องยนต์นั้นว่ามีการทำงานแบบ Doble Over Head Camshaft หรือ DOHC ที่เราสามารถเห็นตัวอักษรนี้ พิมพ์ติดอยู่บนฝาวาล์ว ของรถหลายๆ รุ่น
แกนเพลาลูกเบี้ยวหมุนได้อย่างไร ?
แกนเพลาลูกเบี้ยว ได้รับแรงฉุดให้หมุน จากเพลาข้อเหวี่ยง (Crank shaft) ซึ่งตัวกลางที่ส่งผ่านแรงฉุดนี้ มี 3 ชนิด คือ
สายพานราวลิ้น (Timing belt)
เฟืองราวลิ้น (Timing gear
โซ่ราวลิ้น (Timing chain)
เครื่องยนต์ใดๆ จะเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งนั้น ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ของบริษัทผู้ผลิต ไม่ว่าจะเป็นเพลาลูกเบี้ยว ที่ติดตั้งอยู่ในห้องเครื่อง หรือติดตั้งอยู่เหนือวาล์ว ก็จะต้องได้รับแรงฉุดให้หมุนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง


8. ลูกกระทุ้ง (Cam follower)
ลูกกระทุ้ง เป็นตัวกลาง ถ่ายทอดแรงกระทำจากเพลาลูกเบี้ยว (Camshaft) ที่อยู่ภายในห้องเสื้อสูบ ไปยังก้านกระทุ้ง เพื่อกระตุ้น ให้วาล์วไอดี หรือไอเสีย ด้านบนเสื้อสูบ ทำการเปิด หรือปิด

9. ก้านกระทุ้ง (Pushrod)
ก้านกระทุ้ง เป็นแกนรับแรง ที่ส่งต่อมาจากลูกกระทุ้ง (Cam follower) ไปให้กับกระเดื่องวาล์ว (Rocker arm) ในเครื่องยนต์ประเภท Over Head Valve

10. กระเดื่องวาล์ว (Rocker arm)
กระเดื่องวาล์ว ติดตั้งเกาะติดอยู่กับด้านบนของฝาสูบ (Cylinder head) ปลายข้างหนึ่งของกระเดื่องวาล์ว (Rocker arm) เกาะติดอยู่กับปลายวาล์ว ส่วนปลายอีกด้านหนึ่ง ยึดกับ ก้านกระทุ้ง (Pushrod) เมื่อเพลาลูกเบี้ยว (Camshaft) หมุน ก็จะส่งแรงกระทำไปกับ ลูกกระทุ้ง (Cam follower) ส่งต่อไปให้กับก้านกระทุ้ง ไปดันให้ กระเดื่องวาล์ว เกิดการกระดกขึ้น เมื่อปลายข้างหนึ่ง ของกระเดื่องวาล์วกระดกขึ้น ก็จะทำให้ปลายอีกข้างหนึ่ง ที่ยึดติดกับปลาย วาล์วถูกกดลงไป เมื่อวาล์วถูกกดลงไป นั่นก็คือการเปิดวาล์วให้อากาศไหลผ่านเข้า หรือออกในห้องเผาไหม้ได้


11. ฝาสูบ (Cylinder head)
ฝาสูบ คือชิ้นส่วนสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ที่ติดตั้งครอบอยู่บนเสื้อสูบ (Cylinder block) โดยทำหน้าที่หลายอย่างเช่น เป็นส่วนด้านบนของห้องเผาไหม้ , เป็นที่ยึดเกาะของหัวเทียน (Spark plug) , มีรูสำหรับเป็นปลอกนำวาล์ว , มีร่องโพรงน้ำเพื่อให้น้ำในระบบระบายความร้อน ใหลผ่านได้ , มีร่องโพรงอากาศ สำหรับให้ไอดี หรือไอเสียผ่าน
การติดตั้งฝาสูบเข้ากับเสื้อสูบ จะมีชิ้นส่วนอีกชี้นหนึ่งเรียกว่า ปะเก็นฝาสูบ (Cylinder head gasket) แทรกอยู่ตรงกลาง เพื่อช่วยซับแรงปะกบกันระหว่างโลหะ 2 ชิ้น (ฝาสูบ กับเสื้อสูบ)

12. เสื้อสูบ (Cylinder block)
เสื้อสูบ เป็นเสมือน ตัวถังของเครื่องยนต์ เป็นที่อยู่ของ เพลาข้อเหวี่ยง (Crank shaft) ลูกสูบ (Piston ) ก้านสูบ (Connecting rod) ซึ่งเสื้อสูบสามารถทำจากโลหะหล่อ ผสมนิกเกิล โครเมียม หรือส่วนผสมต่างๆ ตามความก้าวหน้า ของวิทยาการด้านโลหะวิทยา เพื่อทำให้เกิดความแข็งแรง ทนความร้อนสูง เสื้อสูบ ถูกสร้างจากการหล่อแบบ และบริเวณผนังกระบอกสูบ ก็จะถูกออกแบบ มาให้เป็นร่องโพรง เพื่อที่จะให้น้ำไหลผ่าน เพื่อระบายความร้อน ในเวลาที่ลูกสูบกำลังทำงาน

13. ปลอกสูบ (Cylinder liner)
ปลอกสูบ เป็นบริเวณที่รับการเสียดสีกับลูกสูบ ดังนั้น พื้นที่บริเวณนี้ จะต้องรองรับความร้อน ในปริมาณมากเป็นพิเศษ โลหะที่นำมาใช้ทำปลอกสูบ จะต้องมีความสามารถในการรองรับ งานดังกล่าวได้ด้วย เครื่องยนต์บางระบบ ถูกออกแบบให้ปลอกสูบ และเสื้อสูบ เป็นโลหะต่างชนิดกัน เช่น ปลอกสูบ อาจใช้โลหะชนิดที่ทนทานต่อความร้อน และแรงเสียดสีสูงมาก แต่ที่เสื้อสูบใช้โลหะชนิดอลูมิเนียมมาผสม เพื่อให้น้ำหนักที่เบา เหนียว และนำพาความร้อนได้ดี จากนั้นนำเอามาหลอมหล่อแบบออกมาเป็นชิ้นส่วนเดียวกัน สิ่งที่ได้ออกมาคือ เสื้อสูบที่มีน้ำหนักเบา และบริเวณปลอกสูบที่ทนทานต่อการเสียดสีสูง แต่ขั้นตอนการผลิต ก็จะซับซ้อนตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อวิทยาการทางด้านโลหะวิทยา ก้าวหน้ามาก เครื่องยนต์รุ่นใหม่ๆ มักจะมีเสื้อสูบ และปลอกสูบ เป็นโลหะชิ้นเดียวกัน และมีความทนทานสูง ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานโดยรวม สูงตามไปด้วย

14. ฝาครอบวาล์ว (Valve cover)
ฝาครอบวาล์ว ติดตั้งครอบอยู่บนฝาสูบ (Cylinder head) อีกที ซึ่งจะมีปะเก็นฝาครอบวาล์ว (Valve cover gasket) แทรกอยู่ตรงกลางระหว่างชิ้นส่วนทั้ง 2 ชิ้น
ฝาครอบวาล์ว ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้สิ่งสกปก และฝุ่นละออง เข้าไปในระบบการทำงานของวาล์ว และยังป้องกัน ไม่ให้น้ำมันหล่อลื่น กระเด็นออกมาภายนอกเครื่องยนต์ด้วย โดยปกติแล้ว ฝาครอบวาล์ว จะมีช่องเติมน้ำมันหล่อลื่น และจะมีฝากลมเกลียวหมุนเปิด-ปิด เพื่อเติมน้ำมันหล่อสื่น (แต่ไม่จำเป็นต้องมีสำหรับรถยนต์ทุกๆ รุ่น แล้วแต่การออกแบบ) และในเครื่องยนต์บางรุ่น อาจพบวาล์ว PCV ติดตั้งอยู่บนฝาครอบวาล์วนี้ด้วยก็ได้

15. อ่างน้ำมันหล่อลื่น (Oil pan)
อ่างน้ำมันหล่อลื่น ติดตั้งอยู่ด้านล่างสุดของเสื้อสูบ (Cylinder block) โดยประกบติดกับขอบห้องเครื่องด้านล่าง ซึ่งจะต้องมีปะเก็น แทรกอยู่ระหว่างกลางเช่นกัน อ่างน้ำมันหล่อลื่น ทำหน้าที่ในการเก็บกักน้ำมันหล่อลื่น และบริเวณก้นอ่าง ก็จะมีหัวดูดน้ำมันหล่อลื่น ติดตั้งอยู่ เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน ปั้มพ์น้ำมันหล่อลื่น (Oil pump) ก็จะทำการดูดน้ำมันหลือลื่น (Oil) ไปใช้งาน

16. ปะเก็น (Gasket)
ปะเก็น คือชิ้นส่วนที่ทำจากไม้ก๊อก ยาง หรือทองแดง เป็นต้น เช่นปะเก็นท่อไอเสีย ปะเก็นฝาสูบ ปะเก็นฝาครอบวาล์ว


17. ปั้มพ์น้ำมันหล่อลื่น (Oil pump)
ปั้มพ์น้ำมันหล่อลื่น ติดตั้งอยู่ภายในเสื้อสูบ (Cylinder block) ทำงานได้โดย ได้รับแรงหมุน ที่ส่งมาจาก เฟืองเพลาลูกเบี้ยว (Camshaft) เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน เพลาลูกเบี้ยวหมุน ปั้มพ์น้ำมันหล่อลื่นก็หมุนตามไปด้วย การหมุนของปั้มพ์น้ำมันหล่อลื่นนี้ จะทำการดูดน้ำมันหล่อลื่น (Oil) จากก้นอ่างน้ำมันหล่อลื่น (Oil pan) ขึ้นมาตามท่อน้ำมัน เข้าสู่ตัวกรองน้ำมันหล่อลื่น (Oil filter) ออกไปตามท่อส่งน้ำมัน เพื่อไปหล่อเลี้ยงตามจุดต่างๆ ของโลหะที่มีการเสียดสีกัน เพื่อช่วยลดการสึกหรอ ของชิ้นส่วนเหล่านั้น

18. หัวดูดน้ำมันหล่อลื่น
หัวดูดน้ำมันหล่อลื่น มีลักษณะคล้ายฝักบัวอาบน้ำ จุ่มลงไปแช่อยู่ในก้นอ่างน้ำมันหล่อลื่น (Oil pan) และมีท่อต่อไปยังปัมพ์น้ำมันหล่อลื่น (Oil pump)




19. กรองน้ำมันหล่อลื่น (Oil filter)
เป็นที่คุ้นเคยกันดี สำหรับกรองน้ำมันหล่อลื่น เพราะเมื่อคุณเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นเมื่อใด ก็จะต้อง เปลี่ยนกรองน้ำมันด้วยทุกครั้ง
เพราะ เมื่อเวลาน้ำมันหล่อลื่นทำงาน ก็จะไปสำผัสกับบริเวณรอยต่อของอุปกรณ์ที่ทำจากโลหะเสียดสีกัน เมื่อโลหะเสียดสีกัน ก็จะเกิดความร้อน และการสึกหรอตามมา น้ำมันเครื่องที่ดี ก็จะช่วยลดการสึกหรอดังกล่าวให้เป็นไปน้อยที่สุด แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ก็ยังต้องมีการสึกหรอของชิ้นส่วนอยู่ดี เมื่อโลหะ 2 ชิ้นเสียดสีกัน ก็จะเกิดอนุภาคโลหะขนาดเล็ก ปะปนมากับน้ำมันหล่อลื่น รวมทั้งเขม่าควันที่หลงเหลือ เร็ดรอดออกมาจากห้องเผาไหม้ หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ก็จะผสมผสานเข้ากับนั้นมันหล่อลื่น ไหลลงสู่ก้นอ่างน้ำมันหล่อลื่นอีกครั้ง
กรองน้ำมันหล่อลื่น จะติดตั้งอยู่ระหว่างทางก่อนส่งน้ำมันไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ โดยจะทำหน้าที่ กรองสิ่งสกปรก และอนุภาคโลหะใดๆ ที่แฝงอยู่กับน้ำมันไม่ให้หลุดลอดส่งออกไป (ทำให้น้ำมันหล่อลื่นสะอาด) จ่ายให้กับชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ ที่กำลังทำงานอยู่ ด้วยเหตุนี้เอง ที่ทุกครั้งที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ก็จะต้องเปลี่ยนกรองน้ำมันหล่อลื่นด้วย

20. น้ำมันหล่อลื่น (Oil)
น้ำมันหล่อลื่น หรือ น้ำมันเครื่อง ที่ใช้กับรถยนต์ บางบริษัทผู้ผลิตจะระบุมาในคู่มือประจำรถ ว่าจะต้องใช้น้ำมันเครื่องชนิดใด ประเภทใด ถึงจะตรงต่อความต้องการของเครื่องยนต์แต่ละรุ่น ซึ่งน้ำมันเครื่องที่ดีนั้น จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
มีความหนืดที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์
มีความสามารถในการลดแรงเสียดทาน และการสึกหรอ
ป้องกันการสัมผัสของผิวได้ดี
ไม่กัดกร่อนส่วนใดๆ ของเครื่องยนต์
ป้องกันอาการร้อนจัดเกินไป
ป้องกันการสึกหรอ
มีจุดเยือกแข็งต่ำ
ไม่เป็นเขม่าได้ง่าย
สามารถทำความสะอาดเครื่องยนต์ได้
สามารถขจัดสารอื่นใด ภายในเครื่องยนต์ได้
ไม่เป็นฟองง่าย
ไม่ทำปฏิกิริยา หรือระเบิดง่าย และไม่เป็นพิษ
น้ำมันหล่อลื่นความหนืดเดี่ยว (Single viscosity oil)
ค่าความหนืดของน้ำมันหล่อลื่น (Oil viscosity) ปัจจุบันน้ำมันที่ผลิตออกจำหน่าย จะยืดถือค่าความหนืดตามมาตรฐาน SAE (Society of Automotive Engineers) ซึ่งจะแสดงเป็นตัวเลขเช่น SAE 20 , SAE 30 , SAE 40 , SAE 50 เป็นต้น ตัวเลขที่ต่างกัน หมายถึงระดับความหนืดที่ต่างกันเช่น SAE 20 จะมีความหนืดน้อยกว่า SAE 40 ที่ระดับอุณหภูมิ 210 องศาฟาเรนไฮ (ตัวเลขยิ่งมาก ความหนืดยิ่งมาก) อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาจเห็นตัวอักษรข้างกระป๋องน้ำมันหล่อลื่นเป็น SAE 40W ตัวอักษร "W" คือ (Winter) โดยจะวัดค่าความหนืด ที่อุณหภูมิ 0 องศาฟาเรนไฮ ดังนั้น ถ้าเปรียบเทียบน้ำมันหล่อลื่น SAE 40 กับ SAE 40W จะไดัว่า น้ำมันหล่อลื่น SAE 40W จะมีความหนืดน้อยกว่า SAE 40 (SAE 40W ทดสอบที่อุณหภูมิ 0 องศาฟาเรนไฮ แต่ SAE 40 ทดสอบที่อุณหภูมิ 210 องศาฟาเรนไฮ) ดังนั้น น้ำมันหล่อลื่นที่มี ตัวอักษร "W" หรือ Winter อยู่ด้วย จะใช้งานในภูมิอากาศหนาวเย็นได้ดี
น้ำมันหล่อลื่นหลายความหนืด (Multi viscosity oil)
เช่น น้ำมันหล่อลื่น SAE 20W-50 หมายถึง ที่อุณหภูมิ 0 องศาฟาเรนไฮ น้ำหล่อลื่น จะมีค่าความหนืดเท่ากับ SAE 20W แต่เมื่อ อุณหภูมิ สูงขึ้นจนถึง 210 องศาฟาเรนไฮ จะมีค่าความหนืดเท่ากับ SAE 50
ชนิดของน้ำมันหล่อลื่น (Oil type)
น้ำมันหล่อลื่นทั่วไปในปัจจุบัน จะยิดถือกันตามมาตรฐาน API (American Petroleum Institute) โดยจะแบ่งออกเป็นระดับ การทำงานของเครื่องยนต์ ให้เหมาะสมสำหรับการใช้งาน ซึ่งเครื่องยนต์แก๊สโซลีน (เครื่องยนต์เบนซิน) จะใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ นำหน้าด้วยตัวอักษร "S" เป็นสัญลักษณ์ ส่วน เครื่องยนต์ดีเซล จะใช้ตัวอักษร "C" นำหน้าในการแบ่งประเภทการใช้งาน ดังตาราง
ค่ามาตรฐาน API สำหรับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
SA เป็นมาตรฐาน ที่เหมาะกับเครื่องยนต์รอบต่ำ แต่ปัจจุบัน ไม่มีการนำมาใช้งานแล้ว
SB เหมาะกับเครื่องยนต์ ที่ใช้งานระดับความเร็วปานกลาง และรับโหลดงานน้อย สามารถกำจัดเขม่า และป้องกันการกัดกร่อน ปัจจุบันไม่มีการนำมาใช้แล้ว
SC เหมาะกับรถโดยสารส่วนตัว น้ำมันชนิดนี้ สามารถขจัดเขม่า ป้องกันการสึกหรอ ป้องกันสนิมของชิ้นส่วนในเครื่องยนต์
SD เหมาะกับรถโดยสารส่วนตัว และรถบรรทุก มีความสามารถในการกำจัดเขม่า ป้องกันสนิม และป้องกันการสึกหรอ ได้ดีกว่าน้ำมันหล่อลื่นชนิด SC
SE เหมาะกับรถที่ทำงานหนัก รองรับเครื่องยนต์ที่มีรอบจัด และกำลังอัดสูงๆ ได้ดี สามรถกำจัดเข่า ป้องกันสนิม และการสึกหรอ
SF เหมาะกับ เครื่องยนต์ประสิทธิภาพสูง รอบจัด แรงมาสูง เช่นเครื่องยนต์ที่ติดตั้ง ระบบเทอร์โบชาร์จเจอร์ และมีคุณสมบัติที่ดีกว่า น้ำมันหล่อลื่นชนิด SE
SG เป็นชนิดที่มีความสามารถสูงสุดในปัจจุบัน รองรับการทำงานกับเครื่องยนต์ประสิทธิภาพสูง รอบจัด แรงม้าสูง มีความสามารถในการลดการสึกหรอ และลดความร้อนได้ดี
ค่ามาตรฐาน API สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล
CA เหมาะกับเครื่องยนต์รอบต่ำ และรับโหลดต่ำ ภายใต้อุณหภูมิต่ำ และทำงานสม่ำเสมอ ปัจจุบัน ยกเลิกการใช้งานไปแล้ว
CB เหมาะกับเครื่องยนต์ที่ทำงานสม่ำเสมอ และรับโหลดปานกลาง ป้องกันการกัดกร่อนของเครื่องยนต์ ขจัดเขม่า และป้องกันสนิมได้ดี
CC เหมาะกับเครื่องยนต์ที่รับโหลดสูง ภายใต้อุณหภูมิสูง แม้จะเป็นเครื่องยนต์ที่ติดตั้งระบบซุปชาร์จเจอร์ หรือเทอร์โบชาร์จเจอร์ก็แล้วแต่ สามาถป้องกันสนิม ขจัดเขม่า และป้องกันการกัดกร่อนได้ดี
CD เหมาะกับเครื่องยนต์ทำงานหนัก รับโหลดหนักมาก หยุด-ดับบ่อย เช่นรถแทรกเตอร์ รวมทั้งเครื่องยนต์ที่ติดตั้ง ระบบซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ หรือเทอร์โบชาร์จเจอร์ สามารถป้องกันสนิม ขจัดเขม่า และการกัดกร่อนได้ดี
CE เหมาะกับเครื่องยนต์ที่มีรอบจัด และกำลังสูง ทำงานในที่อุณหภูมิสูงได้ดี ขจัดเขม่า การกัดกร่อน และลดการสึกหรอของชิ้นส่วนได้ดีกว่าชนิด CE
CF-4 เป็นน้ำมันหล่อลื่น ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน มีคุณสมบัติที่ดีกว่าชนิด CE

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ยี่ห้อรถยนต์

ประเภทของรถยนต์

รถยนต์สามารถจำแนกได้เป็นหลายประเภท ซึ่งมีชื่อเรียกดังต่อไปนี้
ชื่อเรียกภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน ชื่อเรียกภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ ชื่อเรียกตามองค์กร ยูโรเอ็นแค็ป เซ็กเมนต์ คำแปลภาษาไทย ตัวอย่าง รูปตัวอย่าง
Microcar Bubble Car Supermini A รถยนต์นั่งไมโครคาร์ อิเซ็ตตา
สมาร์ท ฟอร์ทู
Velam isetta.jpg
Subcompact Car City Car รถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก เฟียต 500
แดวู มาติซ
1wmfiat500.jpg
Supermini B โตโยต้า วีออส
ฟอร์ด เฟียสตา
ฮอนด้า แจ๊ซ
ฮอนด้า ซิตี้
ฮอนด้า ซีวิค รุ่นที่ 1-6
โตโยต้า ยาริส
โตโยต้า โซลูน่า
โตโยต้า โคโรลล่า รุ่นที่ 1-5
มิตซูบิชิ แลนเซอร์ รุ่นที่ 1-7
เชฟโรเลต อาวีโอ
มาสด้า 2
นิสสัน มาร์ช
2007 Toyota Vios 1.jpg
Compact Car Small family car Small family car C รถยนต์นั่งขนาดเล็ก ฮอนด้า ซีวิค รุ่นที่ 7-ปัจจุบัน
ฮอนด้า แอคคอร์ด รุ่นที่ 1-4
โตโยต้า โคโรลล่า รุ่นที่ 6-ปัจจุบัน
โตโยต้า คัมรี่ รุ่นที่ 1-2
มิตซูบิชิ แลนเซอร์ รุ่นที่ 8-ปัจจุบัน
นิสสัน ทีด้า
เชฟโรเลต ออปตรา
มาสด้า 3
ฟอร์ด โฟกัส
บีเอ็มดับเบิลยู 1 ซีรีส์
Honda Civic (eighth generation) (front), Serdang.jpg
Mid-size car Large family car Large family car D รถยนต์นั่งขนาดกลาง ฮอนด้า แอคคอร์ด รุ่นที่ 5-7
นิสสัน เซฟิโร่
นิสสัน เทียน่า
โตโยต้า คัมรี่ รุ่นที่ 3-ปัจจุบัน
2006-2008 Honda Accord V6 sedan 02.jpg
Entry-level luxury car Compact executive car รถยนต์นั่งประเภทหรูหราระดับต้น บีเอ็มดับเบิลยู 3 ซีรีส์
เมอร์เซเดส-เบนซ์ ซี-คลาส
วอลโว เอส60
เอาดี้ เอ4
BMW 3er (E90) Facelift 20090720 front.JPG
Full-size car Executive car Executive car E รถยนต์นั่งขนาดใหญ่ โตโยต้า คราวน์
ฮอนด้า แอคคอร์ด รุ่นปัจจุบัน
เชฟโรเลต อิมพาลา
2008 Toyota Crown-Royal 01.jpg
Mid-size luxury car รถยนต์นั่งประเภทหรูหราขนาดกลาง เมอร์เซเดส-เบนซ์ อี-คลาส
ฮอนด้า เลเจนด์
บีเอ็มดับเบิลยู 5 ซีรีส์
วอลโว เอส80
2010 Mercedes-Benz E550 1 -- 07-23-2009.jpg
Full-size luxury car Luxury car ไม่มี F รถยนต์นั่งประเภทหรูหราขนาดใหญ่ เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอส-คลาส
บีเอ็มดับเบิลยู 7 ซีรีส์
เอาดี้ เอ8
มาเซราตี ควอตโตรปอร์เต
Mercedes-Benz S550 -- 01-20-2010.jpg
Sports car Sports car S รถยนต์นั่งสมรรถนะสูง ปอร์เช 911
มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชัน
เชฟโรเลต คอร์เวตต์
Porsche911sc.jpg
Grand tourer Grand tourer รถยนต์นั่งประเภทหรูหราสมรรถนะสูง มาเซราตี แกรนทูริสโม
เฟอร์รารี 612 สคากลิตติ
จากัวร์ เอกซ์เค
Maserati GranTurismo V8.jpg
Supercar Supercar รถยนต์นั่งสมรรถนะสูงมาก บูกัตติ เวย์รอน
พากานี ซอนดา
เฟอร์รารี เอ็นโซ
Bugatti Veyron Hermes right front.jpg
ไม่มี LAV Small MPV M รถยนต์กึ่งเอนกประสงค์
รถยนต์เพื่อกิจกรรมสันทนาการ
เกรทวอลล์ เพริ
ฟอร์ด ทัวร์นีโอ คอนเนคต์
โฟล์กสวาเกน แคดดี ไลฟ์
Great Wall Peri.jpg
Mini MPV รถยนต์เอนกประสงค์ขนาดเล็กมาก โตโยต้า อแวนซา
ฮอนด้า ฟรีด
Toyota Avanza (first generation) (front), Serdang.jpg
Compact Minivan Compact MPV รถยนต์เอนกประสงค์ขนาดเล็ก โตโยต้า วิช
โตโยต้า อินโนวา
ฮอนด้า สทรีม
เชฟโรเลต ซาฟิรา
Toyota Wish 0014.JPG
Minivan Large MPV Large MPV รถยนต์เอนกประสงค์ขนาดใหญ่ ฮอนด้า โอดีสซีย์
ฟอร์ด กาแล็กซี
มิตซูบิชิ สเปซ วากอน
95-96 Honda Odyssey.jpg
Mini SUV Mini 4x4 Small Off-Road 4x4 J รถยนต์เอนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดเล็กมาก ฮอนด้า เอชอาร์-วี
โตโยต้า เออร์แบน ครุยเซอร์
1998 Honda HR-V 01.jpg
Compact SUV Compact 4x4 รถยนต์เอนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดเล็ก ฮอนด้า ซีอาร์-วี
โตโยต้า ราฟโฟร์
3rd Honda CR-V EX .jpg
Mid-size SUV Large 4x4 Large Off-Road 4x4 รถยนต์เอนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดกลาง โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์
ฟอร์ด เอเวอเรสต์
Toyota Fortuner face.jpg
Full-size SUV รถยนต์เอนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดใหญ่ เรนจ์ โรเวอร์
โตโยต้า แลนด์ ครุยเซอร์
Range Rover HSE.JPG
Mini pickup truck Pickup Pickup ไม่มี รถกระบะขนาดเล็กมาก เชฟโรเลต มอนทานา
เฟียต สทราดา
'08-'10 Chevrolet Tornado.jpg
Mid-size pickup truck รถกระบะขนาดกลาง อีซูซุ ดี-แม็กซ์
เชฟโรเลต โคโลราโด
นิสสัน นาวารา
Isuzu D-Max (first generation) (front), Serdang.jpg
Full-size pickup truck รถกระบะขนาดใหญ่ โตโยต้า ทุนดรา
เชฟโรเลต ซิลเวอราโด
ฟอร์ด เอฟ-ซีรีส์
Toyota Tundra SR5 Double Cab -- 12-26-2009.jpg

รถยนต์

รถยนต์ (อังกฤษ: car , automobile) หมายถึง ยานพาหนะทาง บกที่ขับเคลื่อนที่ด้วยพลังงานอย่างใดอย่างหนึ่งและถ่ายทอดลงสู่ล้อ เพื่อพาผู้ขับ ผู้โดยสาร หรือสิ่งของ ไปยังจุดหมายปลายทาง ปัจจุบัน รถยนต์โดยส่วนมากได้รับการออกแบบอย่างซับซ้อนในทางวิศวกรรม และหลากหลายประเภท ตามความเหมาะสมของการใช้งาน หรือใช้สำหรับงานเฉพาะกิจ ทั้งนี้เว้นแต่รถไฟ

ประวัติ

รถยนต์รุ่นแรกของโลก
รถยนต์สมัยใหม่
ก่อนช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ยานพาหนะของผู้คนในสมัยนั้น ยังคงอาศัยแรงของสัตว์ เช่น รถม้า หลังจากมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ได้มีการประยุกต์ใช้แรงดันไอน้ำมาขับเคลื่อนเป็นยานพาหนะแบบใหม่ที่ไม่ต้องอาศัยแรงของสัตว์
ในปี ค.ศ. 1886 คาร์ล เบนซ์ (Karl Benz) วิศวกรชาวเยอรมันได้สร้างรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เพลิงเผาไหม้คันแรกของโลก ได้สำเร็จ (Benz Patent Motorwagen) โดยใช้โครงสร้างแบบลูกสูบเหมือนของเครื่องจักรไอน้ำ เพียงแต่ได้เพิ่มอุปกรณ์ที่จะเปลี่ยนเชื้อเพลิงในรูปของเหลวให้กลายเป็นก๊าซ และเพิ่มวาล์วไอดีไอเสีย ในรูปแบบของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ (ปัจจุบันรถยนต์ใช้ระบบเครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน)
เครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงในยุคแรกๆ นั้น ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิง ต่อมา ปี 1897 รูดอล์ฟ ดีเซล พยายามคิดค้นพลังงานอื่นมาใช้กับเครื่องยนต์ จนสำเร็จเป็นเครื่องยนต์ดีเซล [ต้องการอ้างอิง]
ประเทศไทยเริ่มมีรถยนต์ใช้ในช่วงปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยชาวต่างชาติเป็นคนนำเข้ามาภายในประเทศซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
 

Blogger news

Blogroll

About